ระบบงานราชการ มีหลักการบริหารคนอย่างไร โดยเฉพาะในแง่ของลำดับขั้น จะแบ่งเหมือนกับบริษัทเอกชนไหม และที่สำคัญ แต่ละขั้นข้าราชการได้เงินเดือนเท่าไหร่บ้าง เรามาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับระบบ ระดับงานราชการ มีกี่ขั้น และตำแหน่งของระบบงานราชการให้ฟังกัน

   การแบ่งระดับข้าราชการ ได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมตามยุคสมัยอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2471 โดยเริ่มตั้งแต่การแบ่งตามยศ ที่มี คือ ขุน พระ พระยา ต่อมาได้พัฒนาเป็นระบบมาตราฐานกลาง 11 ระดับ (Common Level) หรือที่เรียกว่า “C” จนเมื่อปี พ.ศ. 2551 ระบบการแบ่งระดับของงานราชการได้ถูกแบ่งตาม “ลักษณะและประเภทตำแหน่ง” โดยจะถูกแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

ระดับงานราชการ มีกี่ขั้น อะไรบ้าง

  1.     ประเภททั่วไป หรือ Operational Staff คือ ข้าราชการที่ได้รับการบรรจุด้วยคุณวุฒิต่ำกว่าระดับปริญญา
ตำแหน่งเงินเดือนเงินประจำตำแหน่ง
ระดับปฏิบัติงาน4,630 – 18,1909,900
ระดับชำนาญงาน10,190 – 33,540
ระดับอาวุโส15,410 – 47,450
ระดับทักษะพิเศษ48,220 – 59,770
  1.     ประเภทวิชาการ หรือ Knowledge Workers คือ ข้าราชการที่ได้รับการบรรจุด้วยคุณวุฒิระดับปริญญา ประกอบด้วย
ตำแหน่งเงินเดือนเงินประจำตำแหน่ง
ระดับปฏิบัติงาน7,940 – 22,220–           
ระดับชำนาญงาน14,330 – 36,0203,500
ระดับชำนาญการพิเศษ21,080 – 50,5505,600
ระดับเชี่ยวชาญ29,900 – 59,7709,900
ระดับทรงคุณวุฒิ41,720 – 66,48013,000 หรือ 15,600
  1.     ประเภทอำนวยการ หรือ Middle Management คือ ข้าราชการที่ได้รับการเลื่อนขั้นขึ้นมา จากประเภทวิชาการ และ        ประเภททั่วไป ประกอบไปด้วย 
ตำแหน่งเงินเดือนเงินประจำตำแหน่ง
ระดับต้น (ผู้อำนวยการกอง)25,390 – 50,5505,600
ระดับสูง (ผู้อำนวยการสำนักงาน และผู้ตรวจ ฯ กรม)31,280 – 59,77010,000
  1.     ประเภทบริหาร หรือ Senior Executive Service (SES) & Senior Professional Service (SPS) คือ ข้าราชการที่ได้รับการเลื่อนขั้นขึ้นมา จากประเภทอำนวยการ ประกอบไปด้วย
ตำแหน่งเงินเดือนเงินประจำตำแหน่ง
ระดับต้น (รองอธิบดี, รองผู้ว่าราชการจังหวัด, หรือเทียบเท่า)48,700 – 64,34010,000
ระดับสูง (ปลัดกระทรวง, รองปลัดกระทรวง, อธิบดี, ผู้ว่าราชการจังหวัด, เอกอัครราชทูต, ผู้ตรวจราชการระดับกระทรวง หรือเทียบเท่า)53,690 – 66,48014,500 หรือ 21,000