คนไทยอ่อนภาษาอังกฤษ ถือได้ว่าเป็นประเด็นระดับชาติของไทยไปแล้ว เพราะ เรื่องนี้เป็นปัญหาใหญ่ที่สะสมมาเนิ่นนาน และจนถึงตอนนี้ ปัญหานี้ก็ยังคงอยู่
การศึกษาเรียนรู้ภาษาอังกฤษ มีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน เพราะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการใช้ติดต่อสื่อสาร หรือใช้ในการศึกษาหาความรู้ หรือ ใช้ในการประกอบอาชีพ หรือ เพื่อความบันเทิง
โดยเฉพาะในเรื่อง ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ เพราะ ทักษะการอ่านเป็นทักษะที่คงอยู่กับตัวเราได้นานที่สุด สามารถนำมาใช้ได้ตลอดเวลา ตราบใดที่เรายังสามารถอ่านหนังสือได้ และ ที่สำคัญ การอ่านเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ ซึ่งจะช่วยในการกระตุ้นการพูดคุยและแสดงความคิดเห็น รวมไปถึงการใช้จินตนาการ ให้ความรู้และทักษะเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพการงาน ช่วยพัฒนาตัวเรา ทำให้เราเกิดความมั่นใจในตนเองมากขึ้นด้วย
“ ทักษะการอ่านของคนไทยอยู่ในระดับต่ำ ”
สาเหตุเนื่องมาจากผู้สอนใช้วิธีการสอนที่ไม่เหมาะสม และ การสอนไม่ได้ให้คนเรียนได้พัฒนาทักษะการอ่านอย่างแท้จริง เนื่องจากอาจารย์ผู้สอนจะมุ่งเน้นไปในด้านการแปล เน้นความจำคำศัพท์ กฎไวยากรณ์ ซึ่งไม่ส่งเสริมทำให้เกิดทักษะการคิด
ผลที่ตามมาก็คือ ผู้เรียนก็จะไม่เข้าใจ อ่านไปก็ไม่สามารถสรุปความเข้าใจจากเรื่องนั้นๆ ออกมาเป็นคำพูด หรือ เป็นตัวหนังสือได้ ด้วยวิธีการสอนแบบนี้จึงทำให้ทักษะการ อ่านภาษาอังกฤษ ของคนไทยล้มเหลว หรือ คนไทยอ่อนภาษาอังกฤษ นั่นเอง
แนวทางการแก้ไข คนไทยอ่อนภาษาอังกฤษ คืออะไร?
KWL Plus เป็นกระบวนการสอนที่คิดและพัฒนาโดยนักวิจัย 2 คน คือ Ogle และ Carr ในปีค.ศ. 1987 พวกเขาบอกว่า KWL Plus เป็นวิธีการสอนที่ใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของผู้เรียนได้
เพราะ KWL Plus เป็นวิธีการสอนอ่าน ที่ช่วยกระตุ้นผู้เรียนให้เป็นนักคิด คิดเป็นระบบ ในขณะที่อ่าน ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
K = KNOW
คือ ขั้นตอนที่ผู้เรียนตรวจสอบหัวข้อเรื่องว่าตนเองมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องจะอ่านมากน้อยเพียงใด โดยนำความรู้เดิมหรือประสบการณ์เดิมของผู้เรียนมาใช้ในการเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่เป็นสำคัญก่อนที่จะเริ่มอ่านเรื่องที่กำหนด
ถ้าจะพูดง่ายๆ ก็คือ เป็นกระบวนการเช็คกับตนเองก่อนว่า ตัวเราเองมีความรู้เดิมอะไรบ้าง ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เราจะอ่าน เพราะถ้ามีองค์ความรู้ในตัวอยู่แล้วบ้าง ในการฝึกฝนทักษะการ อ่านภาษาอังกฤษ ก็จะง่ายมากขึ้น
W = WANT TO KNOW
คือ ขั้นตอนที่ผู้เรียนจะต้องถามตนเองว่าต้องการรู้อะไรในเนื้อเรื่องที่อ่านบ้าง ซึ่งคำถามที่ผู้เรียนสร้างขึ้นก่อนการอ่านนี้ เป็นการตั้งเป้าหมายในการอ่านและเป็นการคาดหวังว่าจะพบอะไรในบทอ่านบ้าง
ถ้าจะพูดง่ายๆ ก็คือ เป็นกระบวนการในการระบุหัวข้อ เรื่องที่เราสนใจ ความคาดหวังจะเราอยากได้จากการอ่าน เป้นต้น ถ้าเราได้อ่านในเรื่องที่เราสนใจจริง การฝึกฝนทักษะการ อ่านภาษาอังกฤษ ก็จะง่าย และอ่านสนุกมากขึ้น
L = LEARNES
คือ ขั้นตอนที่ผู้เรียนจะสำรวจว่า ตนเองได้เรียนรู้อะไรบ้างจากบทอ่าน ผู้เรียนจะหาคำตอบให้กับคำถามที่ตนเองตั้งไว้ในขั้นตอนที่ 2 แล้วจดบันทึกสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้
ถ้าจะพูดง่ายๆ ก็คือ เป็นกระบวนการในการสรุป ว่าหนังสือ หรือบทความที่เราได้อ่าน เราได้ความรู้อะไรบ้าง ตรงตามที่เราได้คาดหวังเอาไว้ไหม หรือ ได้อะไรเพิ่มเติมบ้าง เป็นต้น การฝึกฝนทักษะการ อ่านภาษาอังกฤษ ในส่วนนี้ นอกจากจะได้พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแล้ว ยังได้ความรู้ความเข้าใจจากสิ่งที่อ่านด้วย
Plus
คือ การเพิ่มกิจกรรมการทำแผนภูมิบทอ่าน หรือ ผังแสดงความสัมพันธ์ทางความหมาย เพื่อใช้ในการสรุปใจความหลังการอ่าน ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในเรื่องที่อ่านและสามารถถ่ายโอนการเรียนรู้ได้มากยิ่งขึ้น
ถ้าจะพูดง่ายๆ ก็คือ เป็นกระบวนการในการสรุป บวกการทำเอกสารเก็บไว้ทบทวน การทำแผนผัง เชื่อมโยงความเข้าใจ และ ความสัมพันธ์ จะทำให้เราจดจำได้ง่าย ได้นาน และเข้าใจในเนื้อหานั้นๆ มาก และ ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
เทคนิค KWL Plus ถึงแม้จะเก่าแล้ว แต่ก็ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ดี
เราไม่ต้องไปรอให้ครู หรืออาจารย์ มาสอนภาษาอังกฤษเราด้วยวิธีนี้ เราเองก็สามารถประยุกต์วิธีนี้ ใช้กับตัวเราเอง สอนตัวเอง ฝึกตัวเองได้เช่นกัน
การพัฒนาทักษะการ อ่านภาษาอังกฤษ นั้น ถ้าจะแบบได้ผล และ ได้ง่ายๆ ก็ขอเพิ่มเติมเทคนิคที่สำคัญ ให้ไปลองทำกันดูได้ ดังต่อไปนี้
อ่านไป ออกเสียงไป
วิธีนี้จะช่วยในการพัฒนาการ อ่านภาษาอังกฤษ และการฟังไปพร้อมกัน เพราะทุกครั้งที่เราออกเสียงจะเป็นการทบทวนคำศัพท์ไปในตัว เราสามารถหาคำแปลคำศัพท์ และ ฟังการออกเสียงที่ถูกต้องได้ที่ https://dict.longdo.com/ จะได้เป็นการช่วยให้เราออกเสียงคำคำนั้นได้อย่างถูกต้อง
มีสมุดจดคำศัพท์
อ่านไปก่อน ติดคำศัพท์ตัวไหน ก็จดเอาไว้ก่อน แต่ก็ลองพยายามเดาดูด้วยว่า คำนั้นมันหมายความว่าอย่างไร จากนั้นพออ่านจนจบย่อหน้านั้น ก็ไปหาความหมายของคำศัพท์ จาก https://dict.longdo.com/
จดคำแปลลงในสมุด และ ท่องคำศัพท์ตัวนี้สัก 2-3 รอบ แล้วค่อยกลับไปทำความเข้าใจเนื้อหาในย่อหน้านั้นอีกรอบ ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ รับรองว่า จะอ่านได้ไว และ เข้าใจมากขึ้น
เรื่องของการ อ่อนภาษาอังกฤษ อันที่จริงแล้วสามารถแก้ไขได้ ด้วยการหมั่นฝึกฝน ผ่านการวิธีการ KWL Plus ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันของเรา ด้วยการนำเรื่องราวของภาษาอังกฤษเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตก็ได้ ผ่านกิจกรรมประจำวัน
ไม่ว่าจะเป็นฟังเพลง ดูหนัง ฟังหรือดูข่าว หรือ อ่านหนังสือ ที่มีแหล่งที่มาจากต่างประเทศ และนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ การทำแบบนี้บ่อยๆ ก็จะเป็นการสร้างพฤติกรรมและนิสัยของเราให้มีความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษได้มากขึ้น
Recent Comments